วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาและการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ — Presentation Transcript


  • 2. 1. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ ที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง
  • 3. การ ใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรมาจากพลังงานน้ำ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจาก พลังงานจากน้ำมัน มีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า พลังงานไอน้ำ
  • 4. ผู้ก่อกำเนิดการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม เขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์ แรงม้า เป็นวิธีคำนวณประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และชื่อของเขาได้รับไปตั้งเป็น หน่วยกำลังไฟฟ้า ในระบบหน่วยเอสไอ เจมส์ วัตต์ ( James Watt) (19 มกราคม พ . ศ . 2279 - 19 สิงหาคม พ . ศ . 2362) วิศวกรและนักประดิษฐ์ ชาวสกอตแลนด์ ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ จนนำสหราชอาณาจักรไปสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตและการต่อเรือ และทำให้สหราชอาณาจักรเป็นเจ้าอาณานิคมในเวลาต่อมา เครื่องจักรของวัตต์เป็นต้นแบบของเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน
  • 5. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจากการทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่ การพัฒนาทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์
  • 6. 1. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตรถยนต์
  • 7. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการคำนวณและ เก็บข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท ส่งผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวัน
  • 8. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ พ . ศ . 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก งานส่วนใหญ่เป็นงานในสำนักงานและยังไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
  • 9. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงาน อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น สำนักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด
  • 10. 1. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม ( multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียงและวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน
  • 11. 2. ขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เพื่อช่วยในการทำงาน เช่น อุปกรณ์ , เครื่องมือ , เครื่องจักร , วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของ
  • 12. 2. ขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ทรายหรือซิลิกอน ( silikon) เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนำมาสกัดด้วยเทคนิควิธีการสร้างเป็น ชิป ( chip) จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
  • 13. 2. ขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ( Information ) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า “สารสนเทศ” เช่น คะแนนสอบนักเรียน นำมาประมวลผลเพื่อตัดเกรด
  • 14. 2. ขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์ เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศ ที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  • 15. 3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่อง คำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ระยะแรกนี้เรียกว่า ระยะการประมวลผลข้อมูล ( data processing age) งานที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลมักเก็บในลักษณะแฟ้มข้อมูล และประมวลผลทีเดียวพร้อมกัน การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing) งานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบ ตอบสนองทันที ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง ( online processing) เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่างๆ ผ่านเครื่องรับ - จ่ายเงินอัตโนมัติ
  • 16. 4. ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ถูกต้อง และแม่นยำ เช่น ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน ดังเห็นได้จากการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิทัล และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ
  • 17. 4. ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องซักผ้า ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล การนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนการสอน เช่น วิดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน
  • 18. 4. ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุม ระบบป้องกันภัย และระบบเฝ้าระวัง ( เรดาร์ )
  • 19. 5. ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซอฟแวร์ประมวลคำ ( word processing)
  • 20. 5. ระบบสารสนเทศ ซอฟแวร์กราฟิก ( graphic)
  • 21. 5. ระบบสารสนเทศ ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล ( database management)
  • 22. 5. ระบบสารสนเทศ ซอฟแวร์การทำสิ่งพิมพ์ ( desktop publishing
  • 23. 5. ระบบสารสนเทศ ซอฟแวร์ตารางทำงาน ( spreadsheet)
  • 24. 5. ระบบสารสนเทศ ซอฟแวร์นำเสนอ ( presentation)
  • 25. 5. ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้กับงานต่างๆ ได้ ตัวอย่างระบบบริการลูกค้า หรือการเสนอขายสินค้าผ่านทางสื่อโทรศัพท์ พนักงานในทีมงานอาจจะมีอยู่หลายคนและใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลกลางของลูกค้าร่วมกัน
  • 26. 5. ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศของกลุ่มหรือแผนกยังมีแนวทางอื่นๆ ในการสนับสนุนการบริหารงานและการปฏิบัติงาน เช่น การสื่อสารด้วยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจจะประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน
  • 27. 5. ระบบสารสนเทศ ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม ได้แก่ การประชุมทางไกล การช่วยกันเขียนเอกสาร ตำรา หรือรายงานร่วมกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำตารางทำงานของกลุ่ม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดการเก็บข้อความ ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่ม ระบบการบริหารโครงการของกลุ่ม ระบบการใช้แฟ้มข้อความร่วมกันของกลุ่ม ระบบประมวลผลภาพเอกสาร เป็นต้น
  • 28. 5. ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศระดับองค์กร หัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศในระดับองค์กร คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิด การใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ด้วย
  • 29. 6. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีอยู่ 5 องค์ประกอบได้แก่ ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย
  • 30. 6. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง
  • 31. 6. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้ว และข้อมูลจะต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • 32. 6. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ บุคลากร ซึ่งได้แก่บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
  • 33. 6. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน และในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานของคนและความสำพันธ์กับเครื่อง
  • 34. 7. ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ ระบบเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยในปีพ . ศ . 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ในเมือง นิวยอร์ก ระบบเอทีเอ็มของ ธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคาร อื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารอื่นหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
  • 35. 7. ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ ระบบเอทีเอ็ม > ระบบคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยัง ฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูล ยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็น ฐานข้อมูลกลาง
  • 36. 7. ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ ระบบลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง
  • 37. 7. ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ( electronic commerce : e-commerce ) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากแหล่งต่างๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก
  • แหล่งที่มา: http://www.slideshare.net/taenmai/ss-4486961

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น